Medical Cannabis Clinic

การใช้กัญชาทางการแพทย์และการวิจัย

     ปัจจุบันมีข้อมูลงานวิจัยที่ช่วยสนับสนุนการใช้กัญชาทางการแพทย์เพื่อรักษาโรค หรือจัดการอาการ ทำให้หลายประเทศเรื่มมีการปลดล็อกกัญชาเพื่อให้สามารถนำมาใช้ในการแพทย์และในงานวิจัยประเทศไทยได้มีการผ่านกฏหมายให้กัญชาเป็นยาเสพติดประเภทที่ 5 ที่อนุญาตให้นำมาใช้ในการแพทย์และงานวิจัยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 อย่างไรก็ตามงานวิจัยที่สนันานุนการใช้ในทางการแพทย์ก็มีเพียงไม่กี่โรค/อาการ ยังคงต้องมีการศึกษาวิจัยอย่างมาก โรคมะเร็งและผู็ป่วยระยะแบบประคับประคองน่าจะเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีการใช้กัญชามากที่สุด

การใช้กัญชาทางการแพทย์ในผู้ป่วยมะเร็งและผู้ป่วยระยะประคับประคอง

     หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ช่วยบ่งชี้ว่าการใช้กัญชาทางการแพทย์ในภาวะเหล่านี้
ได้ผลได้แก่ 

  • การรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบําบัด ที่ไม่สามารถควบคุมด้วยยามาตรฐาน
  • การรักษาอาการปวดประสาทเรื้อรังที่ไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวดมาตรฐาน 
  • การรักษาอาการเกร็งจากโรคปลอกประสาทอักเสบ (โรคนี้โดยทั่วไปพบได้น้อย)

ยังไม่มีหลักฐานที่สนับสนุนว่ากัญชาสามารถรักษามะเร็งได้ ดังนั้นเป้าหมายการใช้กัญชาทางการแพทย์ ไม่มีจุดมุ่งหมายในการรักษาหรือควบคุมโรคมะเร็งยังต้องรอการศึกษาอีกมาก ดังนั้นไม่ควรละทิ้งการรักษามะเร็ง ตามมาตรฐานทางการแพทย์ที่ทําอยู่ในภาวะปัจจุบัน

กัญชามีที่ใช้อย่างไรในผู้ป่วยมะเร็งและผู้ป่วยรักษา
แบบประคับประคอง?

     กัญชามีบทบาทในการช่วยจัดการอาการต่างๆ ที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคมะเร็งและผู้ป่วยระยะประคับประคอง แม้ประสิทธิภาพของกัญชาจะมีฤทธิ์อ่อนไม่มากเท่ายามาตรฐานที่ใช้ในการจัดการอาการ แต่กัญชาอาจออกฤทธิ์ ที่ช่วยจัดการอาการหลายอย่างที่พบร่วมกันในผู้ป่วยมะเร็งและผู้ป่วยระยะประคับประคอง เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน วิตกกังวล นอนไม่หลับ รวมถึงอาการปวด กัญชามักนํามาใช้เสริมกับยามาตรฐานกรณีที่การจัดการ อาการต่างๆ เหล่านี้ยังไม่สามารถควบคุมได้ดี การใช้กัญชาอาจช่วยให้สามารถลดยาระงับปวดกลุ่มมอร์ฟีนได้บ้าง โดยมีงานวิจัยที่ช่วยสนับสนุน แม้หลักฐานเชิงประจักษ์ยังไม่แน่นหนา
การตั้งเป้าหมายการนํากัญชามาใช้โดยหวังผลการรักษาที่ไม่มีข้อพิสูจน์ เช่น การหวังผลการรักษามะเร็ง เป็นต้น ทําให้เสี่ยงกับผลข้างเคียงจากการรักษาที่ไม่จํา

บทบาทของกัญชาในการจัดการอาการต่างๆ ในผู้ป่วยมะเร็งและ ผู้ป่วยรักษาแบบประคับประคอง

มีการศึกษาที่ช่วยสนับสนุนการใช้กัญชาในการจัดการอาการเหล่านี้

  • ช่วยเพิ่มการอยากอาหาร โดยมีการศึกษาพบกัญชาช่วยเพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วยโรคเอดส์
  • ลดอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการได้รับยาเคมีบําบัด
  • ช่วยลดอาการปวด แม้ฤทธิ์การลดปวดจะอ่อนและไม่มีประสิทธิ์ภาพเท่ายามอร์ฟีนมีการศึกษาที่สนับสนุน ว่าการใช้กัญชาช่วยลดขนาดยาระงับปวดมอร์ฟันที่ผู้ป่วยใช้อยู่ อย่างไรก็ตามกัญชาไม่สามารถนํามาแทน มอร์ฟีนในการจัดการอาการปวดในผู้ป่วยที่มีความปวดระดับปานกลางถึงรุนแรงได้ รวมถึงการใช้กัญชา ในผู้ป่วยที่ได้รับยามอร์ฟื้นควรได้รับการดูแลด้วยแพทย์เชี่ยวชาญด้านการจัดการความปวดหรือแพทย์ดู แลประคับประคอง เนื่องจากยาทั้งสองตัวอาจเพิ่มผลข้างเคียงได้
  • ลดความวิตกกังวล
    ทําให้รู้สึกสบาย และผ่อนคลาย

     โดยรวมกัญชาอาจช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยระยะประคับประคอง อย่างไรก็ตามเนื่องจากกัญชามีฤทธิ์ระดับอ่อนในการจัดการอาการต่างๆ จึงควรใช้เมื่อการรักษาด้วยยามาตรฐาน ไม่ได้ผล หรือใช้ร่วมกับยามาตรฐาน และต้องอยู่ในการดูแลของทีมแพทย์

ข้อแนะนําในการใช้กัญชาทางการแพทย์

  • ควรมีการวางเป้าหมายผลการรักษาที่ต้องการ เช่นนํามาใช้ระงับอาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยให้นอนหลับอยากอาหาร
    เป็นต้น ควรหยุดยาหลังปรับขนาดยาเต็มที่แล้วไม่ได้ผล
  • ใช้ภายใต้การดูแลกํากับของแพทย์ที่มีประสบการณ์การใช้กัญชา เนื่องจากกัญชามีปฏิกิริยากับยาต่างๆ ที่ผู้ป่วย อาจใช้อยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตราย หรือมีโอกาสลดประสิทธิภาพของกัญชาลง รวมถึงต้องมีการเริ่ม ในขนาดน้อยและปรับยาช้าๆ ภายใต้การกํากับดูแลของแพทย์
  • ผู้ป่วยและครอบครัวต้องได้รับข้อมูลเกี่ยวกับ ผลดี ผลเสีย อาการข้างเคียงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้กัญชา
  • ผู้ที่ใช้กัญชาไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ หรือทํางานกับเครื่องจักร เพราะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ

ข้อเสียของการใช้กัญชา

  • การได้รับสารปนเปื้อนสารพิษตกค้าง เช่นยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อรา โลหะหนัก ถ้าไม่ได้ใช้ยาที่ผลิตตามมาตรฐาน หรือ ได้รับการรับรองตําหรับ จึงไม่ควรซื้อกัญชาใต้ดินใช้เอง นอกจากนี้การไม่ทราบองค์ประกอบของน้ํามันกัญชา ที่ใช้อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้
  • การตั้งเป้าหมายการนํากัญชามาใช้โดยหวังผลการรักษาที่ไม่มีข้อพิสูจน์ เช่น การหวังผลการรักษามะเร็ง เป็นต้น ทําให้เสี่ยงกับผลข้างเคียงจากการรักษาที่ไม่จําเป็นน้ํามันกัญชามีราคาแพง ทําให้เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่เกิด
    ประโยชน์ รวมถึงทําให้เกิดความล่าช้าในการรักษา
  • การใช้กัญชาที่มีส่วนประกอบของ THC ในระยะยาวมีโอกาสพึ่งพิงยา

ผลข้างเคียงจากกัญชา

     THC ซึ่งเป็นส่วนประกอบของกัญชามีโอกาสเกิดผลข้างเคียงที่เฉียบพลันได้
โดยอาจทําให้เกิดอาการ เคลิ้ม ประสาทหลอน การใช้ครั้งแรกควรเริ่มด้วยขนาดน้อย ใช้ก่อนนอน และควรมีผู้ดูแล

ผลข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่ ง่วงซึม ปากแห้ง มึนงง อ่อนล้า เสียการควบคุมของกล้ามเนื้อ เสียสมาธิ อยากอาหาร

ผลข้างเคียงที่พบน้อย ได้แก่ อาการเคลิ้ม ความดันตกเวลาเปลี่ยนท่าทาง เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว สับสน ท้องเสีย

ผลข้างเคียงที่พบน้อยมาก ได้แก่ ประสาทหลอน หลงผิด ตื่นตระหนก จิตหลอน

ข้อควรระวัง

     ผู้ที่มีประวัติความผิดปกติทางจิต ควรหลีกเลี่ยงการใช้ เพราะอาจทําให้เกิด ความเสี่ยงของโรคจิต ผู้มีโรคหัวใจ อาจมีความเสี่ยงเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้มีภาวะตับ ไตวาย ควรหลีกเลี่ยงการใช้

medical cannabis clinic

ดาวน์โหลดไฟล์

ติดต่อสอบถาม กรุณาติดต่อพยาบาลประจำคลินิก