Palliative Ward

ความเป็นมาในการจัดตั้งหอผู้ป่วย palliative care 

     ศูนย์การุณรักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นทีมนำในการให้คำปรึกษาการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในโรงพยาบาล ปัจจุบันมีผู้ป่วยในที่ขอรับคำปรึกษาและต้องการการดูแลในโรงพยาบาลเฉลี่ย 25-30 ราย/วัน ผู้ป่วยเหล่านี้กระจายอยู่ตามหอผู้ป่วยต่างๆ ทั่วโรงพยาบาล ศูนย์การุณรักษ์ได้จัดระบบ Palliative care ward จำนวน 12 เตียง อยู่ภายในหอผู้ป่วยการุณรักษ์และสูงอายุ (กว.7/1) ซึ่งได้เริ่มเปิดให้บริการผู้ป่วยระยะท้ายในโรงพยาบาลครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.. 2562 

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งหอผู้ป่วย Palliative care 

     เพื่อให้ผู้ป่วยระยะท้ายและครอบครัวได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่เฉพาะเจาะจงตามแผนการรักษา ช่วยลดทรัพยากรที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงในการพยุงชีพที่ไม่ก่อเกิดประโยชน์ รองรับผู้ป่วยที่จะย้ายออกจากหอผู้ป่วยวิกฤต/กึ่งวิกฤต มีการจัด healing environment อย่างเหมาะสม ครอบครัวสามารถอยู่ด้วยได้ตลอดเวลาจวบจนในวาระสุดท้ายของชีวิต

ขอบเขตการบริการหอผู้ป่วย Palliative care

เพื่อให้เกิดการบริหารเตียงอย่างเหมาะสม ได้กำหนดเกณฑ์การ admit ผู้ป่วยเพื่อเข้ารับบริการ ในหอผู้ป่วย ได้แก่ กรณีเหล่านี้

1. ผู้ป่วยระยะท้ายทุกกลุ่มโรคจากหอผู้ป่วยต่างๆ ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ โดยต้องเป็นผู้ป่วยที่ปรึกษาหรือวางแผนปรึกษาศูนย์การุณรักษ์ร่วมดูแล อาจมาจากหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ หอผู้ป่วยทั่วไป ห้อง/หอผู้ป่วยฉุกเฉิน บ้าน OPD การุณรักษ์ หอผู้ป่วยวิกฤต/กึ่งวิกฤต เป็นต้น
2. ผู้ป่วยระยะท้ายที่กลับเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยปัญหาที่สามารถ reversible ได้ หรือมีภาวะ palliative care emergency ที่ไม่ได้ต้องการการจัดการที่
ซับซ้อน เช่น ภาวะติดเชื้อ
3. ผู้ป่วยที่ต้องการการจัดการอาการ เช่น severe pain, severe dyspnea, delirium
4. ดูแลในช่วงเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลไปสู่บ้าน เพื่อเตรียมผู้ป่วยและผู้ดูแลให้พร้อมก่อนการจำหน่าย
5. ผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้านที่ครอบครัวต้องการ respite care
6. ผู้ป่วยท้ายที่อยู่ใน dying stage ไม่ว่าอยู่ในโรงพยาบาลหรืออยู่ที่บ้านที่ครอบครัวไม่สามารถดูแลได้
7. ผู้ป่วยที่รับการถอดถอนเครื่องพยุงชีพตามความสมัครใจของผู้ป่วยหรือครอบครัว และต้องการเสียชีวิตในโรงพยาบาล
8. ก่อน admit ทุกครั้งต้องมีอาจารย์แพทย์หรือ fellow ของการุณรักษ์ประเมินและมีคำสั่งรับย้าย และต้องมีเอกสารลงลายชื่อใน “แบบแจ้งความประสงค์เกี่ยวกับการรักษาพยุงชีพและการช่วยฟื้นชีพล่วงหน้า” ทุกครั้ง

ตารางกิจกรรมของหอผู้ป่วย

เกณฑ์การ Admit ผู้ป่วยเข้ารับบริการในหอผู้ป่วย กว.7/1 ในส่วนของศูนย์การุณรักษ์

     จากการที่ศูนย์การุณรักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นทีมนำในการให้คำปรึกษาการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในโรงพยาบาล ปัจจุบันมีผู้ป่วยในที่ขอรับคำปรึกษาและต้องการการดูแลในโรงพยาบาลเฉลี่ย 25-30 ราย/วัน ผู้ป่วยเหล่านี้กระจายอยู่ตามหอผู้ป่วยต่างๆ ทั่วโรงพยาบาล ศูนย์การุณรักษ์ได้จัดระบบ Palliative care ward จำนวน 9 เตียง อยู่ภายในหอผู้ป่วยการุณรักษ์และสูงอายุ (กว.7/1) ซึ่งได้เปิดให้บริการผู้ป่วยระยะท้ายในโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยระยะท้ายและครอบครัวได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่เฉพาะเจาะจงตามแผนการรักษา ช่วยลดทรัพยากรที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงในการพยุงชีพที่ไม่ก่อเกิดประโยชน์ รองรับผู้ป่วยที่จะย้ายออกจากหอผู้ป่วยวิกฤต/กึ่งวิกฤต มีการจัด healing environment เหมาะสมให้ครอบครัวสามารถอยู่ด้วยได้ตลอดเวลา จวบจนในวาระสุดท้ายของชีวิต เพื่อให้เกิดการบริหารเตียงอย่างเหมาะสม ได้กำหนดเกณฑ์การ admit ผู้ป่วยเพื่อเข้ารับบริการ โดยต้องเป็นผู้ป่วยที่มีแผนการดูแลล่วงหน้า (advance care plan) ชัดเจน ต้องการ comfort care ปฏิเสธการพยุงชีพหรือไม่ต้องการ aggressive treatment ใดๆ และผู้ที่มีสิทธิ์อนุญาตให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยนี้ต้องเป็นอาจารย์และ fellow ของศูนย์การุณรักษ์เท่านั้น

การเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยการุณรักษ์ได้แก่กรณีเหล่านี้
1. ผู้ป่วยระยะท้ายทุกกลุ่มโรคจากหอผู้ป่วยต่างๆ ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ โดยต้องเป็นผู้ป่วยที่ปรึกษาหรือวางแผนปรึกษาศูนย์การุณรักษ์ร่วมดูแล อาจมาจากหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ หอผู้ป่วยทั่วไป ห้อง/หอผู้ป่วยฉุกเฉิน บ้าน OPD การุณรักษ์ หอผู้ป่วยวิกฤต/กึ่งวิกฤต เป็นต้น
2. ผู้ป่วยระยะท้ายที่กลับเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยปัญหาที่สามารถ reversible ได้ หรือมีภาวะ palliative care emergency ที่ไม่ได้ต้องการการจัดการที่ซับซ้อน เช่น ภาวะติดเชื้อ
3. ผู้ป่วยที่ต้องการการจัดการอาการ เช่น severe pain, severe dyspnea, delirium
4. ดูแลในช่วงเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลไปสู่บ้าน เพื่อเตรียมผู้ป่วยและผู้ดูแลให้พร้อมก่อนการจำหน่าย
5. ผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้านที่ครอบครัวต้องการ respite care
6. ผู้ป่วยท้ายที่อยู่ใน dying stage ไม่ว่าอยู่ในโรงพยาบาลหรืออยู่ที่บ้านที่ครอบครัวไม่สามารถดูแลได้
7. ผู้ป่วยที่รับการถอดถอนเครื่องพยุงชีพตามความสมัครใจของผู้ป่วยหรือครอบครัว และต้องการเสียชีวิตในโรงพยาบาล

*ก่อน admit ทุกครั้งต้องมีอาจารย์แพทย์หรือ fellow ของการุณรักษ์ประเมินและมีคำสั่งรับย้าย และต้องมีเอกสารลงลายชื่อใน “แบบแจ้งความประสงค์เกี่ยวกับการรักษาพยุงชีพและการช่วยฟื้นชีพล่วงหน้า” ทุกครั้ง

กิจกรรมของหอผู้ป่วย

การจัดการระบบบริการ Palliative Ward
ดาวน์โหลดไฟล์
Palliative care Discharge Check List
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
Flow withdraw life support
ดาวน์โหลดไฟล์

ติดต่อสอบถาม