Palliative Consultation Team

Criteria

     ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในหอผู้ป่วยต่างๆ ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ ผู้ป่วยทุกเพศทุกวัยที่เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะลุกลามที่หยุดการรักษาแบบ curative และโรคที่ไม่ใช่มะเร็งได้แก่ โรคในระบบต่าง ๆ ที่อยู่ในสภาวะรักษาไม่หายและมีการดำเนินโรคอยู่ในระยะสุดท้าย เช่น end-stage COPD, end-stage cardiac disease, end-stage renal disease (ปฏิเสธการล้างไตหรือไม่สามารถล้างไตได้), end-stage respiratory disease, end-stage dementia, Advance AIDS และโรคหรือภาวะวิกฤติที่อาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ร่วมกับแพทย์เจ้าของไข้พิจารณาว่า ควรได้รับการดูแลแบบประคับประคอง

Palliative Consultation Team

ขอบเขตการบริการ

ผู้ป่วยใหม่จากหอผู้ป่วยต่างๆในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

รูปแบบการให้บริการ

  • ทีมสุขภาพบนหอผู้ป่วย นำโดย palliative care ward nurse (PCWN) ทำการตรวจคัดกรองผู้ป่วยที่รับใหม่รวมถึงผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาล โดยใช้ข้อบ่งชี้ของ national Health Service, UK.
  • PCWN รายงานแพทย์เพื่อรับรองการวินิจฉัยแล้วทำการขึ้นทะเบียนผู้ป่วยของศูนย์การุณรักษ์ แพทย์พิจารณาว่า ต้องการปรึกษาศูนย์การุณรักษ์หรือไม่ ถ้าต้องการปรึกษาให้แพทย์เขียนใบขอรับคำปรึกษา แล้ว PCWN จะถ่ายรูปใบขอรับคำปรึกษาเข้ากลุ่ม Line กรณีแพทย์ยังไม่ปรึกษาศูนย์การุณรักษ์ ทีมสุขภาพดูแลผู้ป่วยแบบ palliative approach ตามแนวปฏิบัติของกลุ่มงาน สามารถดู workflow การตรวจคัดกรองผู้ป่วยเข้าสู่การดูแลแบบประคับประคองข้างล่าง
  • ในกรณีผู้ป่วยระยะท้ายที่กลุ่มงานสามารถให้การดูแลได้ ศูนย์การุณรักษ์สามารถให้การปรึกษาเรื่องการจัดการอาการ และสนับสนุนเรื่องอุปกรณ์ที่ต้องใช้ที่บ้าน
  • กรณีที่ซับซ้อนเหล่านี้ควรปรึกษาศูนย์การุณรักษ์
  • มีอาการที่จัดการลำบาก เช่น difficult pain, dyspnea, delirium. Etc.
  • ต้องการประสานการดูแลอย่างมาก
  • มีความยุ่งยากด้านการสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัว ทำให้ไม่สามารถทำแผนการดูแลล่วงหน้าได้ด้วยตนเอง
  • ต้องมีการเยี่ยมบ้าน (เป็นผู้ป่วยในตัวเมืองขอนแก่น กรณีนอกเขตสามารถส่งต่อเครือข่าย)

การจัดลำดับความเร่งด่วนในการเข้าร่วมการดูแลและให้คำปรึกษา

  • Emergent (ทันที): กรณีฉุกเฉิน เช่น ผู้ป่วยมีความปวดอย่างรุนแรง หรือหอบเหนื่อยอย่างมาก ทีมการุณรักษ์จะเข้าไปให้การดูแลในทันที
  • Urgent (ภายใน 1-2 ชั่วโมง): ทีมฯ จะไปให้การดูแลเร็วที่สุดที่ทำได้ มักไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง
  • Non-urgent: ผู้ป่วยทุกรายที่ไม่มีภาวะรีบด่วน จะได้รับการดูแลภายใน 24 ชั่วโมง หรือภายในวันที่ขอรับการปรึกษา.

การตอบรับการปรึกษาของทีมดูแลการุณรักษ์​

     ตอบรับในใบที่ขอรับการปรึกษาและเข้าร่วมในการดูแลผู้ป่วยโดยทำงานร่วมกับทีมสุขภาพเจ้าของไข้

บทบาทของทีมการุณรักษ์

  • ให้ข้อแนะนำแก่ผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งทีมสุขภาพเจ้าของไข้
  • สั่งการรักษาด้านการจัดการอาการเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการจัดการอาการอย่างรวดเร็ว
  • ประสานกับทีมเจ้าของไข้ให้ข้อมูลเรื่องโรค การพยากรณ์โรค และทางเลือกในการดูแล เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยในการเลือกเป้าหมายการรักษา
  • ช่วยผู้ป่วยและครอบครัววางแผนการดูแลล่วงหน้า และทำ advance directive
  • วางแผนจำหน่าย และส่งต่อเครือข่าย ดูแลต่อเนื่องจนกว่าผู้ป่วยเสียชีวิต และการดูแลการสูญเสียของครอบครัว

การให้คำปรึกษา

Palliative Consultation Team

ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม

Palliative Consultation Team

แผนผัง